ประวัติศาสตร์แห่งมวยไทย ตอนที่ 2

“มวยไทย” ศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทย มีความโดดเด่นด้านการใช้ร่างกายเป็นอาวุธในการต่อสู้ ทั้ง หมัด เท้า เข่า ศอก และศีรษะ หรือที่เรียนกันว่า นวอาวุธ (บางตำราอาจมีการใช้ปากกัดจึงเรียกเป็น ทศอาวุธ สมัยกรุงศรีอยุธยา เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยในสมัยอยุธยา สมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ โปรดการชกมวยมากจนทรงปลอมพระองค์มาชกมวยกับชาวบ้าน และชนะคู่ต่อสู้มีฝือฉกาจได้ถึง 3 คน ได้แก่ นายกลาง หมัดตาย,นายใหญ่ หมัดเหล็ก และนายเล็ก หมัดหนัก โดยนักมวยทั้ง 3 คน ได้รับความพ่ายแพ้อย่างบอบช้ำจากฝีมือการชกมวยไทยของพระองค์ และเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงโปรดการชกมวยไทยมากเช่นนี้ จึงทำให้มีการฝึกมวยไทยขึ้นอย่างแพร่หลาย ในราชสำนัก ขยายไปสู่ชาวบ้าน และวัด โดยเฉพาะวัด ถือว่าเป็นแหล่งประสิทธิ์ประสาทวิชามวยไทยขนานเอก อีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นคือ เรื่องราวของ นายขนมต้ม วีรชนคนกล้าที่ทำให้ข้าศึกรู้จักแม่ไม้มวยไทย เมื่อครั้งที่นายขนมต้มถูกจับเป็นเชลย และถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่กรุงอังวะ ประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 พม่าได้จัดให้มีการฉลองชัยชนะ ในการทำสงครามกับไทย และสุกี้พระนายกองได้คัดเลือกนายขนมต้ม ให้ขึ้นชกกับนักมวยพม่า นายขนมต้มสามารถชกชนะนักมวยพม่าได้ถึง 10…
Read more